วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558


            
การทุจริตคอรัปชั่น
              จากกรณีข่าวที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติผู้ประมูลเพื่อออกแบบก่อสร้างระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนจากเดิมผู้ยื่นประมูลต้องเคยมีผลงานมูลค่าไม่น้อยกว่า 10% ของโครงการ วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท เหลือ 10% ของแต่ละแผนงาน แต่จากการหารือของผู้เชี่ยวชาญระบบบริหารจัดการน้ำ พบว่าอาจเป็นการเอื้อให้กับบางบริษัท  ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบตามที่ กบอ.เสนอในการปรับหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างหรือทีโออาร์ บริษัทเอกชน 395 ราย ในการพิจารณาคัดเลือกกรอบแนวคิดเพื่อออกแบบก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน

            ทั้งนี้สืบเนื่องจากเอ็มโอยู ฉบับที่รัฐบาลได้ลงนามร่วมกับจีน ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาอาจเอื้อประโยชน์ให้บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการก่อสร้างและด้านพลังงานของรัฐบาลจีน ซึ่งเคยมีผลงานก่อสร้างเขื่อนในกัมพูชาและอีกหลายเขื่อนทั่วโลก เนื่องจากมีโอกาสได้รับงานก่อสร้างในโครงการนี้  ส่วนเรื่องของการลดคุณสมบัติลงอ้างว่าเปิดโอกาสให้บริษัทขนาดเล็กเข้ามาร่วมเสนองานหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
- ตาม พ.ร.บ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 มาตรา 3 “ทุจริตต่อหน้าที่” หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือกระทำการอันเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม

- ตามประมวลกฎหมายอาญา หรือตามกฎหมายอื่น “ประพฤติมิชอบ” หมายความว่า ใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีที่มุ่งหมายจะควบคุมดูแลการรับ การเก็บรักษา หรือการใช้เงินหรือทรัพย์สินของแผ่นดิน
รูปแบบการทุจริตภายในภาคเอกชน
1.ปัจจัยภายนอก  เช่น การติดต่อขายสินค้าให้กับลูกค้าบางครั้งมีเจ้าหน้าที่ของลูกค้าที่ต้องการสั่งซื้อสินค้ามีการเรียกสินบน ทำให้ผู้ขายสินค้าต้องจ่ายเงินใต้โต๊ะให้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อของลูกค้าเพื่อให้ขายสินค้าได้ 
2.เจ้าของกิจการทุจริต เช่น ตั้งบริษัทขึ้นมาทำธุรกิจขายตรงแต่ธุรกิจที่แท้จริงมีความผิดตามพรก.กู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน หรือแชร์ลูกโซ่
3. ผู้บริหารและพนักงาน เช่น ผู้บริหารธนาคารให้บุคคลในครอบครัวหรือเพื่อนฝูงตั้งบริษัทประเมินราคาทรัพย์สินในการขอสินเชื่อ หรือจัดจ้างบริษัทขนเงินหรือบริษัทรักษาความปลอดภัย ที่เป็นของพวกพ้องตนเอง โดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่หาประโยชน์
4.การรับประโยชน์ที่มิควรได้ เช่น พนักงานฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง มีอำนาจในการจัดซื้อจัดจ้าง รับสินบนจากผู้ขายสินค้า ซึ่งนำเงินมาให้โดยที่ตัวเองไม่ได้ร้องขอที่เรียกว่า กินตามน้ำ 
5.สวัสดิการที่สูงเกินควรที่บริษัทให้กับผู้บริหารและพนักงาน เช่น ค่าน้ำมันรถตั๋วเครื่องบินราคาถูกงบรับรองสำหรับผู้บริการระดับสูงรถประจำตำแหน่งผู้บริหาร เป็นต้น
            จากประสบการณ์การทำงานสืบสวนจับกุมการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตในองค์กร พบว่า วิธีการจะสืบการทุจริตได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลภายในองค์กรเป็นหลัก รองลงมาคือการได้ข้อมูลจากการหักหลังกันเองระหว่างผู้ที่ทุจริต จึงจะสามารถจับกุมผู้ทุจริตมาดำเนินคดี

แนวทางการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ในทัศนะและข้อเสนอแนะของธนาคารโลก
15เม.ย.







ธนาคารโลกเสนอแนะว่า การบริหารประเทศอย่าง


โปร่งใส (Transparent) และมีธรรมาภิบาล หรือการบริหารจัดการที่ดี (Good Government) มีส่วนช่วยลดการคอรัปชั่น เป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาได้ดีกว่า และเจริญเติบโตได้รวดเร็วกว่าประเทศที่ยังคงมีปัญหาการคอรัปชั่นในอัตราสูง ประเทศที่ต้องการแก้ปัญหาคอรัปชั่น ควรทำในสิ่งต่อไปนี้ คือ

1. ให้มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ ทรัพย์สินและรายได้ของผู้สมัครเพื่อดำรงตำแหน่งทางการการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ว่าจะเป็นนกการเมือง ข้าราชการ รวมทั้งทหารและตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา รวมทั้งคู่ครองและลูกด้วย

2. ให้มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ จำนวนเงินบริจาคพรรคการเมือง โดยปัจเจกชนและบริษัท รวมทั้งยอดค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้งแต่ละครั้ง

3. ให้มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ การออกเสียงลงมติการร่างกฏหมาย และการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกครั้ง

4. มีการออกและดูแลบังคับใช้ให้กฏหมายป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนมีผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ แยกธุรกิจการเมือง การออกกฏหมาย และการบริหารของรัฐออกจากกัน และออกกฎหมายเพื่อควบคุมการวิ่งเต้น (lobbying) เจ้าหน้าที่รัฐ

5.เปิดเผยรายชื่อต้องห้ามบริษัทที่เคยมีประวัติติดสินบนในการยื่นประมูลรับเหมาจากทางราชการ และเปิดเผยค่าสัมปทานที่บริษัทข้ามชาติเข้ามาทำธุรกิจด้านขุดเจาะน้ำมัน แก๊ส ทำเหมืองแร่ และสกัดทรัพยากรสาธารณะต่างๆ ให้ประชาชนทราบ
6. ออกและทำให้กฏหมายมีเสรีภาพในเรื่องข้อมูลข่าวสารมีผลบังคับใช้จริงจัง และสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารของรัฐบาลทุกอย่างได้อย่างสะดวกง่ายดาย
7. ให้สื่อมวลชนรวมทั้งอินเตอร์เนท มีเสรีภาพ
8. ด้านการคลังและงบประมาณของทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น ต้องเปิดเผยและโปร่งใส และมีการจัดประชุมสาธารณะให้ประชาชนมีส่วนร่วม
9. เปิดเผยโครงสร้างและสัดส่วนการถือหุ้น และฐานะทางการเงินของธนาคารพาณิชย์
10. การเปิดประมูลรับเหมาของทางราชการ ต้องเปิดเผยโปร่งใส ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย เช่น เข้าไปดูทางเครือข่ายอินเตอร์เนทได้
11. มีการสำรวจประเมินผลหรือสำรวจทัศนคติของประชาชนต่อผลการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ ระดับการบริหารจัดการที่ดี และปัญหาการคอรัปชั่น
12. ส่งเสริมโครงการเพิ่มความโปร่งใสในระบบบริหารจัดการในระดับเมือง จังหวัดต่างๆ รวมทั้งการเปิดเผยงบประมาณ โครงการต่างๆ และการจัดการประชุมสาธารณะให้ประชาชนมีส่วนร่วม







ชี้ยุคยิ่งลักษณ์ มหาวิกฤติโกง ลามทุกหย่อม! (ไทยโพสต์)
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก Yingluck Shinawatra
          จวกนักการเมืองสมคบข้าราชการ พ่อค้า โกงชาติถึงกระดูก โดยเฉพาะโครงการรับจำนำ ประธานต่อต้านคอรัปชั่นชี้ประเทศกำลังก้าวสู่ มหาวิกฤติคอรัปชั่น คนดี-สื่อที่ไม่ยอมก้มหัวถูกทำลาย เรียกร้องหน่วยงานตรวจสอบผนึกกำลัง เสนอ รธน.ใหม่วางกรอบตรวจสอบนโยบายประชานิยมส่งผลเสียโดยรวมมากน้อยแค่ไหน



          ที่ลานหน้าห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน กรุงเทพฯ วันที่ กันยายน มีการจัดงานวันต่อต้านคอรัปชั่น 2556 "ACT NOW ร่วมกันสู้ กอบกู้อนาคต" โดยมีสมาชิกองค์กร ผู้บริหารทั้งจากภาครัฐและเอกชน ประชาชน เข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอรัปชั่น กล่าวว่า ปัญหาคอรัปชั่นในประเทศไทยช่วง ปีที่ผ่านมา มีแต่ทรงกับทรุดลงเรื่อย ๆ กระทั่งกำลังก้าวเข้าสู่ "มหาวิกฤติคอรัปชั่น" เนื่องจากสังคมยังขาดจิตสำนึกการต่อต้านคอรัปชั่น เริ่มแต่ความไม่จริงจังของรัฐบาลและฝ่ายบริหาร แม้รัฐบาลจะแสดงเจตนารมณ์ในการป้องกันและปราบปรามทุจริต แต่ยังไม่ได้ดำเนินมาตรการอย่างจริงจัง โดยเฉพาะกรณีที่เกิดขึ้นกับโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาล เช่น โครงการรับจำนำ นอกจากนี้ มีปัจจัยความเห็นแก่ตัวของนักธุรกิจ เกิดการสมยอม จำยอม โดยเป็นที่ทราบกันดีว่าการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐมักมีวงเงินสูงมาก จึงมีพ่อค้าวิ่งเต้นเพื่อให้ได้งาน กลายเป็นช่องทางให้ผู้มีอำนาจอนุมัติเรียกร้อง "เงินทอน" จำนวนมาก ซึ่งหากไม่ยอมจ่ายก็ไม่ได้งาน




          "ยังพบว่าข้าราชการดีถูกกลั่นแกล้ง จากผลการวิจัยของสถาบันการศึกษาหลายแห่ง พบว่า วงราชการมีการซื้อขายตำแหน่งมาก และมีมูลค่าสูงมากเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ที่ยังขาดความกล้าในการติดตามขุดคุ้ยนำเสนอข้อเท็จจริง ขณะที่สื่อซึ่งทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมามักถูกแกล้งทั้งทางลับและทางกฎหมาย"


          นายประมนต์กล่าวว่า องค์กรต่อต้านคอรัปชั่นอยู่ระหว่างผลักดันการต่อต้านคอรัปชั่นในหลายเรื่อง ทั้งร่วมมือกับปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม แก้ปัญหาการรับสินบนในการขอใบอนุญาตจัดตั้งโรงงาน เพิ่มมาตรการทางกฎหมายในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ การแต่งตั้งตัวแทนเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วม 3.5 แสนล้านบาท เป็นต้น



          มีข้อเสนอจากนายประมนต์ด้วยว่า ในการแก้ปัญหาคอรัปชั่นระยะยาว ต้องเน้นการสร้างจิตสำนึก เน้นความใส่ใจในการต่อต้านคอรัปชั่น และปฏิเสธการคอรัปชั่นทุกรูปแบบ ไม่เช่นนั้นต่อไปในอนาคต เชื่อว่าประเทศไทยคงจะล่มสลาย


          "แม้รัฐบาลจะประกาศว่าจะแก้ปัญหาคอรัปชั่น แต่ยังไม่เห็นผลออกมาในเชิงการปราบปราม และนำคนผิดมาลงโทษ ส่วนโครงการที่ใช้งบประมาณจำนวนมากอย่างโครงการรับจำนำข้าว อยากให้รัฐบาลดูโครงการเก่าที่ได้ดำเนินไปแล้ว และปิดช่องว่างต่างๆ ที่ทำให้เกิดการทุจริตดังที่ผ่านมา" นายประมนต์กล่าว



          ขณะที่นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ปัญหาโครงการรับจำนำข้าวยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง และเชื่อว่าปัญหาทุจริตจะยังคงเกิดขึ้นต่อไป ส่วนระยะยาวอยากให้รัฐบาลเปลี่ยนแนวทางการให้ความช่วยเหลือประชาชน เป็นแบบทางตรงมากขึ้น เพื่อลดช่องทางที่จะก่อให้เกิดการทุจริต




          ต่อมา น.ส.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในการเสวนาหัวข้อ "ชำแหละผลการวิจัยนิสัยโกงกินและการตอบสนองของแต่ละภาคส่วน" ว่า การจะลดคอรัปชั่นต้องเริ่มต้นจากทุกภาคส่วน ต้องร่วมกันตรวจสอบและขับเคลื่อน จากปัจจุบันที่แต่ละส่วนมีบทบาทสำคัญ แต่ยังแยกกันทำงาน ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการประพฤติมิชอบในวงราชการ (ป.ป.ช.) นักวิชาการ เอ็นจีโอ สื่อมวลชน ทำให้ไม่มีพลังในการต่อต้านคอรัปชั่น จึงอยากให้ดูประเทศเกาหลีใต้เป็นตัวอย่าง ที่ภาคเอกชนรวมตัวกันตรวจสอบภาครัฐได้อย่างเข้มแข็งมาก ทำให้สามารถพลิกประเทศจากอดีตที่มีการคอรัปชั่นอย่างหนักเหมือนประเทศไทย ขึ้นมาเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างปัจจุบัน ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือภาครัฐต้องเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนเข้าไปตรวจสอบ เพราะปัจจุบันหลายปัญหาไม่สามารถหาทางออกได้เพราะไม่มีข้อมูล ในขณะที่กฎหมายที่มีอยู่ก็ไม่มีการบังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรม




          นางวรวรรณ ธาราภูมิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนบัวหลวง กล่าวว่า เพื่อลดการทุจริตในโครงการภาครัฐต่าง ๆ ในช่วงที่รัฐบาลต้องการแก้ไขรัฐธรรมนี้ ก็ควรมีการเขียนลงไปในรัฐธรรมนูญว่า นโยบายการหาเสียงทั้งหมดของพรรคการเมือง ต้องมีผู้วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของนโยบาย ผลได้ผลเสียต่อประเทศโดยรวม ก่อนที่นโยบายจะถูกนำไปปรับใช้จริง เพื่อป้องกันการใช้งบประมาณอย่างไร้ประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังควรมีการลงโทษให้รุนแรงสำหรับผู้ที่กระทำผิดข้อหาคอรัปชั่น


     
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://blogger.googleusercontent.com/img/proxy/AVvXsEikjGEL4lUJyW0ZNifOd-nyKce5F4JU8CtaCZtsYjW_11HAYU6V03IaFa0k2XF8HUZLN_xAJKJwwno40L0-ZGVzmEvr21-kMFIxDVqKQ8Yrha_5MvjG0tlCjRFuIPV2x25yONlEFSepPyuxsx_1Bm62XC8Scw=





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น